การทำงาน ของ พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว)

พระศรีวรานุรักษ์ ขอกลับมารับราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ และเคยดำรงตำแหน่งเสมียนตรามณฑลพายัพ นายอำเภอสารภี และ[2] นายอำเภอแม่ริม[3] รับราชการในยุคเดียวกับเจ้าบุรีรัตน์ (แก้วมุงเมือง ณเชียงใหม่)[4]

ศรี บุญเฉลียว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงศรีวรานุรักษ์ ในปี พ.ศ. 2471[5] และเป็นพระศรีวรานุรักษ์ ในเวลาต่อมา

พระศรีวรานุรักษ์ ถูกมองว่าเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐศักดิ์ และเป็นฝ่ายเดียวกับเชื้อพระวงศ์จึงตรงข้ามกับฝ่ายคณะราษฎร จึงถูกย้ายไปมณฑลนครราชสีมา ทำให้พระศรีวรานุรักษ์ ตัดสินใจลาออกจากราชการ และกลับมาทำธุรกิจส่วนตัวที่เชียงใหม่

พระศรีวรานุรักษ์ ลงเล่นการเมืองโดยการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2480 และเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการต้อนรับรัฐธรรมนูญเมื่อมาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2476[6] พระศรีวรานุรักษ์ มีบทบาทในฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ เป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดสหกรณ์นิคมในเขตหวงห้ามที่ดินในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่[7]

พระศรีวรานุรักษ์ ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2486[1]

พระศรีวรานุรักษ์ เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2518 อายุ 78 ปี[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระศรีวรานุรักษ์ (ศรี บุญเฉลียว) http://www.wachum.com/dewey/900/maibio1.pdf http://tujournals.tu.ac.th/thammasatjournal/detail... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2471/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2480/D/... https://www.thaitambon.com/tambon/500709/product https://web.archive.org/web/20200628075144/https:/... https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1189... https://library2.parliament.go.th/ejournal/content...